วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559


เสียงร้องของนกซีบร้า





ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=VzM00Dr-0PY
  • รูปภาพ »  

    Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู

Click here to see a large version
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
Click here to see a large version
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
Click here to see a large version
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
Click here to see a large version
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
Click here to see a large version
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
Click here to see a large version
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
Click here to see a large version
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู
Click here to see a large version
รูปภาพ Zebra finches นกรูปร่างเล็ก ๆ น่าเอ็นดู


ฟิ๊นซ์ซีร้า (Finch Zebra) ราคา ตัวละ 300 บาท หรือคู่ละ 450 บาท

เรื่องกรงของฟิ๊นซ์ซีร้า

         เท่าที่อ่านมาเขาบอกว่ากรงเล็กก็เลี้ยงได้ครับ แต่หากจะทำการเพาะพันธุ์ หรือ ขยายพันธุ์ได้ดี หรือ หวังผลได้ดีกว่าก็ควรที่จะใช้กรงใหญ่ๆ แต่สำหรับความคิดของผมแล้ว ยิ่งใหญ่ก็ยิ่งดี เหมือนกับเราอยู่บ้านแหละครับ ก็อยากมีบ้านที่ใหญ่ๆ จะได้อยู่อย่างมีความสุข ยิ่งนกแล้วด้วยครับ เพราะ นกนี้เป็นสัตว์ที่มีอิสระครับ บินไปใหนมาใหนได้ ลองคิดดูว่า ถ้าสักวันหนึ่ง กลับต้องมาอยู่ในกรงแล้วหละก็ ควรจะให้กว้างๆไว้ครับ  เขาเล่าว่า(ขนาดกว้าง 0.60 ยาว 1.80 สูง 1.80 เมตร สำหรับนกหนึ่งคู่ขนาดกว้าง 1.20 ยาว 3.60 สูง 1.80 เมตร สำหรับนก 3 – 4 คู่)
         การดู แลในช่วง ฤดูฝน หรือ ฤดูหนาว ก็ควรจะมีที่กำบังป้องกันฝน และ ลมครับ ยิ่งเป็นช่วงที่เอานกใหม่เข้ามาเลียงต้องใช้ระยะเวลาในกาะปรับตัวครับ หากเจอสิ่งเหล่านี้จะทำให้ มีปัญหาเข้าไปใหญ่ครับ
- ฝน
- ป้องกันลมโกรก

เรื่องการทำความสะอาดกรง
เราก็หมั่นทำความสะอาดอยู่บ่อยๆครับ เพื่อสุขลักษณะ ของนกที่ดีครับ อ๋อรวมไปถึงถ้วยน้ำถ้วยอาหารด้วยนะครับ
เรื่องน้ำดืมควรที่จะเปลี่ยนให้นกทุกๆวันครับ

อาหารของนกฟินซ์
         อาหารของนกเจ็ดสี ส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดพืชขนาดเล็กมีหลายชนิด เช่น มิลเล็ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่างแดง – ดำ เป็นต้น อาหารที่ชอบมากของฟินช์เจ็ดสีก็คือ มิลเล็ตสเปรย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อยาว ผู้เลี้ยงควรนำไปแขวนไว้ภายในกรง เพื่อให้นกได้แทะกินอยู่เสมอ อัตราส่วนของอาหารที่จะผสมให้กับนกกินควรประกอบไปด้วย มิลเล็ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่างแดง ดำ ไนเจอร์(ให้โปรตีน) ผสมในอัตราส่วน 2 : 1 : 1 : 1 : 0.50
        ซีบร้าฟินซ์เป็นนกฟินซ์ที่สวยงามอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะโครงสร้างของร่างกายจะคล้ายฟินซ์เจ็ดสี ต่างกันตรงที่สีของนก โดยสีดั้งเดิมของนกจะเป็นสีน้ำตาลเทา หน้าอกลายเหมือนม้าลาย (เป็นที่มาของชื่อ) แก้มมีสีสัน ปากมีสีส้มถึงแดง ร้องเพราะ กินน้อย ไม่สกปรกเลอะเทอะ ขยันออกไข่ฟักไข่ เลี้ยงลูกเก่ง ใช้ได้ทั้งปี (ในบ้านเรา) สามารถพัฒนา สีสันไปได้มากมาย พื้นฐานของนกถิ่นกำเนิดอยู่ที่ออสเตรเลียเช่นกัน ห้ามนำออกเหมือนกัน เพราะการดูแลของซีบร้าฟินซ์ดูจะง่ายกว่าฟินซ์เจ็ดสีหน่อย จึงสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และมีสีสันสวยงามมากขึ้นใช้เวลาสั้นกว่า ดังนั้นซีบร้าฟินซ์จึงอยู๋ในกลุ่ม Grass Finches ซึ่งก็มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Taeniopygia guttata castanotis พฤติกรรมของนกชนิดนี้ชอบอยู่ด้วยกันเป็นฝูง ดังนั้นเวลาเราเพาะพันธุ์ได้ลูกนกแล้วส่วนใหญ่จะนำมาเลี้ยงรวมกันในกรงใหญ่ (Avisries)
           จากนั้นเมื่อนกแข็งแรงเข้าวัยหนุ่มแล้วค่อยนำไปเลี้ยงในกรงเพาะที่มีขนาดตั้งแต่กรงหมอนใหญ่ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว อย่าลืมติดตั้งรังไข่ (กล่องไม้อัด) ซึ่งมีขายสำเร็จรูป หรือที่นกชนิดนี้ชอบจะเป็นตะกร้ารังไข่หวาย อาหารที่เลี้ยงเป็นหลักก็มี มิลเล็ตขาว มิลเล็ตแดง ข้าวไรน์ อาหารไข่ เกลือแร่ ที่ขาดเสียมิได้คืออาหารสดโดยใช้ข้าวโพดสดดีที่สุด และวิตามินแอคควาชอค นกซีบร้าฟินซ์จะเริ่มผสมพันธุ์เลือกคู่และเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดีได้อายุประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี หลังจากจับคู่แล้วนกจะเริ่มวางไข่ เมื่อนกคุ้นเคยกับสถานที่ของตัวเองประมาณ 2-3 เดือน ก็จะไข่ ไข่ประมาณครอกละ 3-7 ฟอง ถ้ามากเกินไปโอกาสที่นกจะฟักได้ลูกทั้งหมดก็ค่อนข้างน้อย ให้คัดไข่ฝ่อและมีปัญหาออกประมาณให้เหลือรังไข่ 3-4 ฟอง กำลังดี หลังจากไข่แล้วนกตัวเมียจะกกไข่และลูกนกเริ่มออกมาเมื่อประมาณวันที่ 11 จากนั้นทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันเลี้ยงลูก ข้อควรระวังจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง นกชนิดนี้โดยเฉพาะตัวพ่อจะชอบไล่ตีลูก เมื่อลูกลงรังมาแล้ว (เทคนิคให้แยกตัวพ่อออกไปก่อนไว้ลูกโตกินเองได้แล้วให้แยกลูกออก แล้วค่อยนำพ่อกลับเข้ามาในกรงเพาะต่อ)
           สายพันธุ์สีของซีบร้าฟินซ์ สีธรรมดาจะแตกต่างกันมากระหว่างนกที่เพาะพันธุ์ได้กับนกที่อยู่ที่ถิ่นกำเนิดโดยเฉพาะเรื่องสีตามทฤษฎีนั้น ขณะนี้สามารถแปรผันไปได้ประมาณ 59 สี ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเป็นการทำ Mutation ของนกสีธรรมดา ตามหลัก Monohybird Crossing สีที่เพาะพันธุ์ได้ขณะนี้มีด้วยกันอยู่มากมาย ซึ่งแยกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
-สีธรรมดา(Normal) เป็นสีที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
-สีเทาปนเหลือง (Fawn) เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเมลานินมาจากนกธรรมดาเป็นเสีเทา
-นกพายด์ (pied) เป็นการทำงานของยีนแบบมัลติฟังค์ชั่น มีสีบนตัวตั้งแต่ 2 สี ซึ่งพัฒนามาจากนกธรรมดาเช่นกัน











ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=numthip25&month=07-11-2011&group=15&gblog=2



นกซีบร้าฟินส์

นกซีบร้าฟินส์

    ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Taeniopygia guttata
    Image

    รูปลักษณะ
    นกซีบร้าฟินซ์ถือเป็นนกฟินซ์อีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดตัวที่เล็ก และมีสีสันที่สวยงามมีสีขาวสลับดำ คล้ายม้าลาย สีของตัวผู้และตัวเมียจะแบ่งแยกชัดเจน โดยของตัวผู้จะมีแถบสีส้มเป็นวงกลมอยู่บริเวณแก้มทั้งสองข้าง บริเวณหน้าและตะโพกและหางจะมีเส้นสีดำพาดเป็นแนวขวางคล้ายลายของม้าลาย ข้างๆลำตัวจะมีสีน้ำตาล อมแดงและมีจุดสีขาวกระจาย สวยงามน่ารัก ดวงตามีสีแดง ส่วนตัวเมียจะไม่มี ในช่วงผสมพันธุ์ นกจะวางไข่ประมาณ 4-5 ฟอง นกจะมีอายุไขเฉลี่ย 5 ปี
    Image

    กิ่นที่อยู่
    พบในบริเวณพื้นที่ติมอร์ตะวันออก อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย

    Image

    อาหาร
    เมล็ดพืชชนิดต่างๆ
    Image

    น้ำหนัก
    10 - 20 กรัม

    Image

    ส่วนสูง
    10 เซนติเมตร
    Image

    นกซีบร้า

    นกซีบร้า

    การเลี้ยงนกซีบร้า
         นกตัวเล็ก ๆ ที่เราอาจเคยพบเห็นเป็นรูปตุ๊กตานกตัวสีขาวปากแดงตัวเล็ก ๆ ที่คนชอบตั้งโชว์กันบ่อยตา  เจ้านกน่ารักที่พูดถึงนี้ เป็นนกข้ามฟ้าข้ามฝั่งมาจากดินแดนแห่งสายพันธุ์นก ในประเทศออสเตรเลีย  ที่เรียกกันในนาม นกซีบร้า  หรือ นกม้าลาย นั่นเอง
         ชื่อ ซีบร้า ได้มาเพราะบริเวณท่อนหางที่มีลายขวางพาดเป็นแนวดูคล้ายกับพวกม้าลายในแอฟริกา นั่นเป็นที่มาที่คนตะวันตกใช้เรียกนกชนิดนี้กัน
         นกซีบร้า เป็นหนึ่งในนกฟินซ์ อยู่ในสกุล Taeniopygia คำว่านกฟินซ์เป็นชื่อเรียกแทนเหล่านกตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยเมล็ดพืชหรือแมลง เป็นอาหาร เนื่องจากเป็นนกที่มีจงอยปากที่แข็งแรง และสามารถบีบหรือเจาะพวกเมล็ดพืชเล็ก ๆ ที่มีความแข็งได้อย่างง่ายดาย
         ในบ้านเรามีนกที่อยู่ในวงศ์เดียวกับนกฟินซ์มากมาย ตัวอย่างพวกที่มีคนชอบนำไปใส่กรง จำหน่ายให้คนนำไปปล่อยเอาบุญ ตามวัด หรือศาลเจ้าต่างๆ  ส่วนใหญ่นกที่ถูกจับมาขายนั้น จะเป็นนกกะติ๊ดสีอิฐ (Black Head Munia)
         การเลี้ยงนกฟินซ์ โดยเฉพาะนกซีบร้าฟินซ์  ได้รับความนิยมมานานหลายสิบปี โดยเฉพาะในยุโรป อเมริกา ในอเมริกาใต้อย่างบราซิล ตลอดจนประเทศในเอเชีย เช่นญี่ปุ่น   นกชนิดนี้เป็นนกพื้นเพจากประเทศออสเตรเลีย โดยเฉพาะในแถบตอนกลางของประเทศ รวมไปถึงสามารถพบได้ในประเทศที่ใกล้กันอย่าง บางเกาะของอินโดนีเซีย หรือในหมู่เกาะติมอร์  จัดเป็นนกเล็ก ๆ ที่มีความน่ารัก เพราะขนาดของลำตัวที่มีความยาวเพียงประมาณ 10 เซนติเมตร และเป็นนกที่เลี้ยงง่ายมาก รวมทั้งไม่ก่อความรำคาญให้แก่ผู้เลี้ยงจากเสียงรบกวนแบบจำพวกนกปากขอ   สีสันของนกชนิดนี้ ถ้าเป็นนกดั้งเดิม เพศผู้จะมีจงอยปากสีอมส้ม และกลายเป็นแดงสดเมื่อเวลาโตเต็มที่ ส่วนเพศเมียจะเป็นสีส้ม ในเพศผู้จะมีสัญลักษณ์แถบสีส้มเป็นวงกลมอยู่บริเวณสองข้างแก้ม และบริเวณหน้าและบริเวณตะโพกและหางจะมีเส้นสีดำพาดเป็นแนวขวางคล้ายลายของม้าลาย บริเวณข้างลำตัวของผู้จะมีสีน้ำตาลอมแดงและมีจุดสีขาวกระจาย สวยงามน่ารัก  และดวงตาเมื่อโตเต็มไว้จะมีสีแดงกล่ำ  ส่วนในเพศเมียจะไม่มีที่กล่าวมา
         ปัจจุบันมีการนำนกชนิดนี้มาเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงและพัฒนาสีสันจนสีสันที่มากมายหลากหลายขึ้น เช่นสีเทา,สีกวาง,แก้มดำ,อิซซาเบล, อกส้ม,เพนกวิน,ขาวปลอด ฯลฯ  และด้วยพัฒนาการเหล่านี้ทำให้ นกซีบร้าฟินซ์เป็นที่นอกจากจะมีความน่ารักแล้วยังมีสีสันที่น่าดูชมด้วย
         การเลี้ยงดูนกซีบร้าฟินซ์
         หนังสือเล่มเล็ก ๆ เขียนโดย Hans J. Martin ออกโดยสำนักพิมพ์ Barron ราคาประมาณ 8 เหรียญ เป็นหนังสือที่ผมซื้อไว้จาก amazon.com เมื่อสิบกว่าปีก่อน หนังสือเล่มนี้แม้จะเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ แต่ก็บรรจุเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับนกซีบร้าฟินซ์ได้อย่างครอบคลุมน่าสนใจทีเดียว โดยเฉพาะในแง่ของการจัดการเลี้ยงดู  หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมกลายเป็นผู้สนใจเลี้ยงนกฟินซ์ชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิดด้วยกัน เช่นพวก กูลเดี้ยนฟินซ์หรือฟินซ์เจ็ดสี, แพรอทฟินซ์ ฯลฯ (ซึ่งถ้ามีเวลาจะเขียนถึงฟินซ์ที่น่าสนใจชนิดอื่น ๆ ต่อไป)  คำถามก็คือ นกซีบร้าฟินซ์ เหมาะสำหรับผู้เลี้ยงประเภทใด คำตอบก็คือ ง่ายและเหมาะสำหรับทุกเพศวัย โดยเฉพาะในแถบประเทศยุโรป นกฟินซ์ กลายเป็นนกยอดนิยมสำหรับช่วยเหลือผู้สูงวัยที่มีอาการเหงาจากกรณีเกษียณจากงานประจำ และกลายเป็นนกยอดฮิตสำหรับเด็ก เพื่อการสร้างนิสัยในการรักสัตว์ และที่สำคัญคือพัฒนาการสร้างความสามารถในการเตรียมพร้อมเพื่อเรียนรู้ด้านชีววิทยาที่ดียิ่ง  เพราะนกชนิดนี้ เด็ก ๆ สามารถเฝ้าดูพัฒนาการตั้งแต่ยังเป็นเล็ก ๆ และเติบโต รวมทั้งการมีคู่ ผสมพันธุ์ วางไข่ ฟักไข่ และการเลี้ยงดูลูกนก ในเวลาที่ไม่นานนัก ประกอบกับบางท่านที่มีเวลาว่างการนำลูกนกมาเลี้ยงเป็นนกลูกป้อน (Hand feed) ก็จะได้นกรุ่นใหม่ที่มีความเชื่องต่อผู้เลี้ยงอย่างน่ารักทีเดียวในกรุงเทพ อย่างตลาดนัดจตุจักร ,ตลาดซันเดย์,หรือตลาดสนามหลวง2 ธนบุรี จะเป็นแหล่งที่มีจำหน่ายนกชนิดนี้อยู่ แ  ละในหาดใหญ่บางร้านผมก็พบว่ามีจำหน่ายนกซีบร้าฟินซ์นี่เช่นกัน และสนนราคาก็ขึ้นอยู่กับสีสันของนก ถ้าเป็นสีดั้งเดิมพื้น ๆ สนนราคาก็ตกคู่ละไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้นเอง ดังนั้นเรื่องของราคาคงไม่เป็นอุปสรรคสำหรับนักเลี้ยงนกทุกวัย การเลี้ยงนกทุกชนิด ต้องศึกษาหาข้อมูลและมีการวางแผนกันก่อน จึงจะเป็นนักเลี้ยงนกมืออาชีพ และการวางแผนที่ดีช่วยให้การเลี้ยงนกประสบผลสำเร็จไปครึ่งหนึ่ง  ตัวอย่างเช่น เมื่อพิจารณาเลี้ยงนกชนิดใด ต้องคำนึงตั้งแต่ สถานที่จัดวาง ขนาดของกรง ความสะดวกและง่ายดายของอหารที่จะให้นกชนิดนั้นในอนาคต หรือแม้แต่ข้อจำกัดเกี่ยวกับเพื่อนบ้าน อันสืบเนื่องมาจากเสียงรบกวน (ในกรณีนกบางชนิด เช่นจำพวกนกปากขออย่าง มาคอว์,กระตั้ว หรือพวกนกแก้วคอนัวร์ ฯลฯ)  เมื่อวางแผนอย่างที่บอกข้างต้นแล้วค่อยพิจารณาเดินหาเลือกซื้อนกต่อไป
           การเลือกนกซีบร้า จำเป็นต้องพิจารณาถึงเรื่องของสุขภาพในเบื้องต้นให้เป็น ก่อนอื่นให้พิจารณาสภาพกรงเลี้ยงหรือกรงขายเดิมว่ามีสภาพเป็นอย่างไร สะอาดหรือสกปรกแบบที่เรียกว่า คอนไม้ แทบจะมองไม่เห็นเนื้อไม้เพราะทับถมไปด้วยมูลของนกซะหนาเตอะ.. แบบนี้ก็ไม่ไหวครับ   หรือถ้ากรงที่ใส่นกไว้จำหน่ายสะอาดสอ้านดี ก็ผ่านไปดูที่สภาพของนกว่า ขนไม่ฟู ขนหาง,นิ้วตีน (นกเค้าไม่เรียกเท้าครับ )ต้องอยู่ครบ ไม่ด้วน ไม่แหว่ง นกต้องมีอาการสดใสร่าเริงอยู่ตลอด ไม่ซึม ซุกตัวอยู่มุมใดมุมหนึ่งของกรง ใต้หางตรงก้นไม่เปียกแฉะหรือมีร่องรอยคราบสกปรกติดหนา แบบนี้ถือว่าใช้ได้ กรงเลี้ยงของนกชนิดนี้ สามารถใช้ได้ตั้งแต่ กรงลวดเล็ก ๆ ราคาไม่กี่ร้อยบาท ไปจนถึงแบบกรงรวมใหญ่ (aviary) ก็ไม่ว่ากันขึ้นอยู่กับงบประมาณอุปกรณ์การเลี้ยงนอกจากกรงที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้า อุปกรณ์ที่สำคัญในกรงก็คือ คอนไม้ ซึ่งปกติร้านค้ามักจะให้มาพร้อมกรงเลี้ยง ซึ่งจะเป็นคอนไม้กลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ซึ่งสามารถใช้คอนนี้เป็นคอนหลักได้ แต่สำหรับคอนไม้ที่ดีสำหรับนกฟินซ์ที่ผมเคยใช้ก็คือ กิ่งไม้ที่ลักษณะประมาณนิ้วก้อยและมีผิวของเปลือกไม้หยาบอย่างพวกกิ่งไม้มะขามดูจะดีมากสำหรับนกฟินซ์ เพราะกระชับตีนนก และร่องของผิวเปลือกไม้ที่ขรุขระช่วยเกลาเล็บของนกไม่ให้ยาวเกินไปอันเป็นอุปสรรคต่อสุขภาพนก นอกจากคอนไม้แล้ว อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น เช่น ถ้วยอาหาร (แนะนำให้ใช้พวกถ้วยดินเผา) หลอดน้ำสำหรับให้นกได้กิน ,อ่างสำหรับให้นกได้อาบน้ำ (สำหรับกรงใหญ่) และเพิ่มอีกหน่อยสำหรับนกซีบร้าฟินซ์ก็คือ ชิงช้าไม้ ที่ประดิษฐ์จากกิ่งมะขามผูกกับลวด (อันนี้นกจะชอบมากและทำง่ายด้วยครับ)
                ตำแหน่งการจัดวางกรงไม่ควรวางไว้ในตำแหน่งที่โล่ง มีลมโกรกพัดเกินไป ควรอยู่ในร่มกันฝนได้ และอยู่ในมุมที่จะสามารถรับแสงแดดยามเช้าได้(จะดีมาก เพราะนกชนิดนี้ชอบอาบน้ำตอนเช้าและได้รับแสงแดดเพื่อทำความสะอาดขนและช่วยกำจัดพวกไรไปในตัว  ซีบร้าฟินซ์ก็เหมือนนกฟินซ์ทั่วไป ที่อาหารหลักคือเมล็ดพืชต่างๆ  เช่น มิลเลต,ข้าวไรน์ (มีจำหน่ายตามร้านของอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีจำหน่ายพวกนกหรือไก่) และอาจเสริมด้วยพวกเศาขนมปังปอนด์, อาหารไข่  (egg food) ,ไข่แดงต้ม,ผักกาดหอม,เมล็ดพืชงอก,ผลไม้บางชนิดเช่นพวกแอปเปิ้ล มะละกอ ฯลฯ  หั่นเป็นลูกเต๋าเล็ก ๆ ฯลฯ อาหารเสริมเหล่านี้อาจให้สลับกันตามความเหมาะสม อาหารและสุขภาพที่ดี ช่วยให้นกซีบร้าในกรงเลี้ยงอาจมอายุมากกว่าในธรรมชาติ (ในธรรมชาติราว 5 ปี) และจากสถิติพบว่ามีผู้เลี้ยงนกชนิดนี้ในกรงเลี้ยงได้ถึง 11 ปีเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่เลี้ยงในเชิงเพาะพันธุ์ (Breeder) แนะนำให้ใช้ 1 กรงต่อ 1 คู่  เพราะง่ายที่นกจะเข้าคู่กัน และตัดปัญหาด้านการบกวนจากนกตัวอื่นและการจิกตีแย่งชิงกันออกไปได้
          การเลี้ยงนกฟินซ์ซีบร้าในเชิงเพาะพันธุ์ เพื่อเป็นแนวทางและประโยชน์สำหรับผู้ที่คิดเริ่มต้นเลี้ยงนกสวยงามโดยเฉพาะนกฟินซ์กัน  เมื่อตกลงใจที่จะเลี้ยงนกชนิดนี้เป็นคู่เพื่อให้มีการขยายสายพันธุ์ ทั้งเพื่อรายได้พิเศษและแถมพกความรู้และความชำนาญในการก้าวไปสู่นักเพาะพันธุ์นกที่ยากกว่า ก็คงต้องมาทำความรู้จักว่า จะต้องตระเตรียมสิ่งใดกันบ้าง
           เริ่มแรก กรงเพาะแบบที่เรียกว่า กรงลวดหมอน ดูจะเป็นกรงขนาดที่เหมาะสมสำหรับเพาะพันธุ์นกหนึ่งคู่ ซึ่งการเพาะพันธุ์แบบนี้ เมื่อมีหลายกรง เรามักเรียกกันว่า กรงคอนโด  กรงเพาะ จะต้องประกอบด้วย รัง ที่ใช้สำหรับนกวางไข่ และฟักไข่ ซึ่งสำหรับนกในกลุ่มนกฟินซ์ มักนิยมใช้พวกตะกร้าวหวายสาน ซึ่งตามร้านค้านกหรือเพ็ทช็อบบางแห่งอาจมีจำหน่าย โดยราคาตระกร้าหวายฝีมือดี ๆ แต่ราคาเพียงไม่กี่สิบบาทอาจใช้สำหรับนกได้ถึง สองหรือสามครอกเลยทีเดียว
    ตะกร้าสำหรับนกวางไข่ (แบบเมืองนอก)
          เมื่อได้ตะกร้าหวายสานมาแล้วให้ติดไว้ที่มุมบนสุดด้านใดด้านหนึ่งของกรง จากนั้นเตรียมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้นก อาทิ หลอดน้ำ,ถ้วยอาหาร, คอนหลัก และเมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็หาที่ทางจัดวางตำแหน่งให้ดี  โดยตำแหน่งจัดวางกรงนกสำหรับเพาะพันธุ์นั้น ควรเป็นสถานที่มีคุณสมบัติพื้นฐานคือ
    1. ไม่มี่ลมโกรกแรงเกินไป และสถานที่ควรมีหลังคาเพื่อกันฝนได้
    2. ถ้ามีแสงแดงส่องถึงยามเช้าและร่มเมื่อเที่ยงไปจนถึงเย็นจะดีมาก
    3. สงบพอสมควร และปราศจากการรบกวนจากสัตว์ต่าง ๆอาทิ เสียงสุนัข หรือแมว
    เมื่อทุกอย่างครบถ้วน ก็ให้ปล่อยนกเข้ากรงเพาะ  ในกรณีที่นกทั้งคู่เคยอยู่กันมาก่อนหน้า ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นนกที่แยกกันอยู่ (ผู้ และเมีย) ข้อแนะนำก็คือ ให้ปล่อยตัวเมียเข้าไปคุ้นเคยก่อนซักวันสองวัน จากนั้นค่อยปล่อยตัวผู้ตามเข้าไป
          เมื่อทุกอย่างลงตัวดี ทั้งสถานที่,กรงเลี้ยง,ตำแหน่งของรังสำหรับเพาะพันธุ์ ก็เริ่มสังเกตพฤติกรรมของนก ซึ่งจะพบว่า นกจะให้ความสำคัญกับตะกร้าที่เราแขวนไว้สำหรับเพาะพันธุ์มากขึ้น เช่นเข้า ๆ ออก ๆ บ่อย และใช้สำหรับนกในเวลากลางคืน   การทดสอบโดยการหาหญ้าเส้นเล็ก ๆ หรือ ใบสนเส้นเล็กๆ (ได้จากกิ่งสน) วางไว้ทืพื้นกรงสักสองสามเส้น หากพบว่านกเริ่มคาบแล้วบินเข้าไปในรัง       นั่นเป็นสัญญานพร้อมแล้วสำหรับการเข้าคู่ของนกให้เราจัดหาหญ้าให้กับนกทุกวัน จนกระทั่งสังเกตว่าในรังนั้น นกได้สานพื้นสำหรับรองรังไว้อย่างแน่นหนาเพียงพอ (อันนี้ต้องให้ความสำคัญด้วยเพราะเกี่ยวกับความอบอุ่นเมื่อเวลาฟักไข่)
        หลังจากนั้นไม่นานนก็จะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ใบแรก ไปจนกระทั่งใบสุดท้ายราว 4-5 ฟอง จากนั้นก็ตัวเมียก็จะเริ่มฟักไข่ในรังตลอดเวลา ประมาณสองอาทิตย์ต่อมา ไข่ใบแรกก็จะเริ่มฟักเป็นตัวและไล่กันไปจนกระทั่งตัวสุดท้าย ในระหว่างที่ลูกนกฟักตัวหมด ควรเสิรมอาหารให้แก่พ่อแม่นกสำหรับนำไปป้อนลูก โดยนอกจากจะเป็นพวกเมล็ดพืชที่เคยให้ตามปกติแล้วระหว่างนี้อาจเสริมด้วย อาหารสูตรพิเศษ คือ ขนมปังแผ่นนำไปชุบไข่ไก่ แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห่งจากนั้นนำไปเข้าไมโครเวฟเพื่อให้กรอบ แล้วบดเป็นชิ้นเล็กๆ (เก็บไว้ในตู้เย็นได้) ค่อย ๆ เสริมให้นกทุกวันพร้อมๆ กับเมล็ดพืชปกติ
          ประมาณยี่สิบก็จะเริ่มเห็นลูกนกเริ่มทยอยลงรัง และเริ่มกินเองได้ และลูกนกตัวใดที่ยังอยู่ในรังก็จะเริ่มถูกพ่อนกหรือแม่นกไล่จิกลงรัง  จากนั้นชีวิตใหม่จากลูกนกน่ารัก ๆ ก็จะเริ่มขึ้น ในกรณีที่เราไม่ต้องการให้นกวางไข่ชุดต่อไป ก็จะต้องเอาตระกร้าที่แขวนออก แต่ถ้าเรายังวางไว้ นกก็จะทำการวางไข่รุ่นต่อไป และเราก็มีหน้าที่ในการนำลูกนกที่เริ่มหัดกินเองได้แล้วย้ายออก ไปยังกรงใหม่ต่อไป
          การเลี้ยงนกซีบร้าฟินซ์ จัดเป็นการเลี้ยงนกที่ง่ายและเหมาะสำหรับพ่อแม่ ที่จะหัดให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ทั้งในเรื่องชีววิทยา,เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์,ความรับผิดชอบและความมีวินัยในหน้าที่ ฯลฯ และทีสำคัญคือการสร้างความโอนโยนขึ้นในจิตใจของเด็ก ๆ อันเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ละเลยกันมาก



    ที่มา: http://www.finch07.com/2-uncategorised/